1. การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นตามความสนใจของนักศึกษาและประชาชนนอกระบบโรงเรียนเพื่อให้มีความรู้ เจตคติ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
เนื้อหา เน้น 4 ด้าน คือ
1. ด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต
2. ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
3. ด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
รูปแบบการจัด
1. รูปแบบกลุ่มสนใจ : จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตด้านต่างๆ ตามความสนใจ
2. รูปแบบค่าย : จัดกิจกรรมเข้าค่ายเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านต่างๆ ตามสภาพปัญหาและความต้องการ
1. ด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต
2. ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
3. ด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
รูปแบบการจัด
1. รูปแบบกลุ่มสนใจ : จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตด้านต่างๆ ตามความสนใจ
2. รูปแบบค่าย : จัดกิจกรรมเข้าค่ายเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านต่างๆ ตามสภาพปัญหาและความต้องการ
3. รูปแบบการอบรม : เน้นการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาทักษะชีวิต
4. รูปแบบการจัดกิจกรรมในชุมชน : รวมกลุ่มพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะเวทีเสวนาตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ในเรื่องทักษะชีวิตสำหรับชุมชน
4. รูปแบบการจัดกิจกรรมในชุมชน : รวมกลุ่มพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะเวทีเสวนาตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ในเรื่องทักษะชีวิตสำหรับชุมชน
2. การพัฒนาทักษะอาชีพ
การพัฒนาทักษะอาชีพ มุ่งให้ความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพเพื่อให้สามารถปรับปรุงพัฒนาอาชีพให้ดีขึ้นให้มองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ การมีอาชีพเสริม สร้างอาชีพใหม่ หรือเข้าสู่อาชีพมีการจัดกิจกรรม 4 ประเภท ดังนี้
1. การฝึกอบรมอาชีพแบบกลุ่มสนใจ เป็นการฝึกอบรมอาชีพในช่วงระยะเวลาระยะสั้นๆ ไม่เกิน 30 ชั่วโมง
เพื่อนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำอาหารขนม การเพาะเห็ด การเลี้ยงสัตว์การทำศิลปหัตถกรรม
2. การฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปปรับปรุงอาชีพให้ดีขึ้นการทำอาชีพ การประกอบอาชีพอิสระการได้รับการจ้างงานหรือการเข้าสู่ตลาดแรงงาน การมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย หรือปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้นหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการและความสนใจ หลักสูตรตั้งแต่ 30 ชั่วโมง 50 ชั่วโมง
หรือ 100 ชั่วโมง โดยจัดกิจกรรมให้สำหรับ กลุ่มเป้าหมาย คือผู้ที่มีความสนใจรวมกลุ่มกัน 20 คนขึ้นไป
3.พัฒนาสังคมและชุมชน
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนกลุ่มที่ประกอบอาชีพเดียวกันอยู่แล้วและหลากหลายกลุ่ม ให้มารวมกลุ่มในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาด้านการผลิต การบริหารจัดการกลุ่ม การตลาด การบัญชี การบรรจุหีบห่อ และการจำหน่าย ตลอดจนให้สมาชิกมีการออมและมีรายได้ ที่ยั่งยืนจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น
รูปแบบการจัด
1. การฝึกอบรม
2. การสัมมนา
3. การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ
4. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เนื้อหา
1. การสร้างความเป็นประชาธิปไตยและความเป็นพลเมือง
2. การสร้างชุมชนเข้มแข็งเศรษฐกิจพอเพียง
3. การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. การรองรับการเปิดเสรีอาเซียน
1. การฝึกอบรม
2. การสัมมนา
3. การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ
4. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เนื้อหา
1. การสร้างความเป็นประชาธิปไตยและความเป็นพลเมือง
2. การสร้างชุมชนเข้มแข็งเศรษฐกิจพอเพียง
3. การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. การรองรับการเปิดเสรีอาเซียน
4. เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการแผนงาน : ขยายโอกาสและพัฒนา การศึกษาผลผลิตที่ 4 ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบ
ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับหลัก คุณธรรมในการบริหารจัดการวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้
ความเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงสามารถจัดทำแผนชีวิตและส่งเสริมให้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
0 ความคิดเห็น